Article 13 กฏหมายลิขสิทธิ์ของ EU

ว่ากันด้วยเรื่องกฏหมายของใหม่ของ สหภาพยุโรป (EU) Article 13 ซึ่งเป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ แล้วก็เป็นกฏหมายที่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากในตอนนี้ เพราะอาจส่งผลกระทบถึงประเทศไทย บ้างก็ว่าอาจเป็นจุดของโลกอินเทอร์เน็ต โดนจำกัดเสรีภาพในการทำคอนเทนต์บ้าง อะไรต่างๆนาๆ บทความนี้ก็จะมาอธิบายถึงกฏหมาย Article 13 ว่าจะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร Article 13

มาว่ากันเรื่อง Article 13 เป็นกฏหมายที่สหภาพยุโรปได้ร่างขึ้นมาเพื่อปกป้อง Content ของเจ้าของลิขสิทธิ์จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนโลกออนไลน์ ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็น Platform เช่น Facebook ,Youtube ,Google ที่ยอมให้ User อัพโหลด Content ต่างๆขึ้นไปได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ วิดีโอ บทความ และอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งเว็บไซต์พวกนี้จะต้องรับผิดชอบในกรณีที่ User อัพโหลด Content ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย แทนที่ User จะต้องรับผิดชอบอยู่ฝ่ายเดียว

แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อ Platform เขาโดยตรง ถ้าลองมานั่งคิดง่ายๆเป็นตัวเรา เปิดเว็บไซต์ให้บริการที่มีผู้ใช้จำนวนหลายสิบล้านคน แล้วมี User มาอัพโหลด Content ต่างๆมากมาย เป็นสิบล้านคนต่อวัน จะให้มานั่งดูว่าอันไหนเป็น Content ที่ถูกหรือผิดลิขสิทธิ์อันนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน

กฏหมาย Article 13  คงเรียกได้ว่าอาจเป็นจุดจบของใครหลายๆคนที่กำลังทำ Content ที่นำผลงานของคนอื่นมาสร้างสรรค์ให้กับผลงานของตัวเอง ซึ่งผมคิดว่ากฏหมายฉบับนี้ เป็นกฏหมายที่ดีในระดับนึง เพราะมันทำให้ตัว Creator ที่นำผลงานคนอื่นมาสร้างสรรค์ให้กับตัวเอง และกำลังเจริญเติบโตในตอนนี้อาจจะดับไปเลย 

สำหรับประเทศไทยสิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุดในตอนนี้คือ Youtuber จะเห็นได้ว่า ถ้าเข้า Youtube จะมีช่องที่เกี่ยวกับ  ดูหนัง ฟังเพลง และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งช่องพวกนี้ถ้าลองเช็คดีๆ แล้ว ไม่ได้เป็นช่องของเจ้าของผลงานโดยตรง นั้นก็แปลว่าผิดลิขสิทธิ์ แต่ใช่ว่า Youtube จะไม่มีการตรวจสอบผลงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ มีคนอัพโหลด Content หลายสิบล้านคนต่อวัน จะให้มานั่งตรวจสอบทุกอันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ซึ่งตอนนี้ Youtube ก็ออกมาต่อต้านกฏหมายฉบับนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว #saveyourinternet

แต่ก็มีอีกมุมที่เป็นที่ถกเถี่ยงกัน คือการที่หลายๆช่องเอา หนังเอาเกมมารีวิวส์นั้นผิดหรือไม่ ถ้ามองในเรื่องลิขสิทธิ์แล้วถือว่าผิดนะครับ แต่มันขึ้นอยู่กับเจ้าของลิขสิทธิ์ว่าจะยอมหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่แล้วยอม เพราะถือว่าแฟร์ๆครับ เหมือนเป็นการโปรโมทผลงานของเขาโดยตรง

ข้อดีข้อเสียของกฏหมาย Article 13 

ข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือกฏหมายฉบับนี้จะสามารถปกป้องเจ้าของผลงานได้อย่างเต็มรูปแบบ ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาติจากเจ้าของผลงานโดยตรง 

สำหรับข้อเสีย ไม่สามารถปกป้องผลงานที่คัดลอกจากผลงานคนอื่น โดยการตัดต่อ หรือการคัดลอกผลงานทางด้านความคิด มาปรับแต่งให้เป็นของตัวเอง และผลงานที่คัดลอกมาแล้วแปะเครติค กฏหมายตัวนี้จะครอบคลุมหมด


แต่อย่าลืมนะกฏหมาย Article 13 ถูกร่างโดย EU และบังคับใช้ใน EU อาจจะไม่ส่งผลต่อประเทศไทยก็เป็นได้ 

ตอนนี้มีแคมเปญรณรงค์ Stop the censorship-machinery! Save the Internet! ใครไม่เห็นด้วยไปลงชื่อกันได้ https://www.change.org

บทความนี้ผมอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ อยากเจาะลึกมากกว่านี้ตามมาเลย https://www.theverge.com/2018/6/19/17480344/eu-european-union-parliament-copyright-article-13-upload-filter

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *